วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คำสั่งพื้นฐานสำหรับ Linux



คำสั่งพื้นฐานสำหรับ Linux


pwd
แสดงตำแหน่งปัจจุบัน
ls
แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเร็คทอรี่ ในรูปแบบต่างๆ
cd
คือการ access เข้าไปยังไดเร็คทอรี่
cd ..
การถอยออกจากไดเร็คทอรี่ที่อยู่ปัจจุบัน หนึ่งไดเร็คทอรี่
tty
การแสดงหน้าจอที่กำลังใช้งานอยู่
whoami
แสดงว่าตัวเองเป็น user อะไร
cp
การสำเนาไฟล์
mv
การย้ายไฟล์
mkdir
การสร้างไดเร็คทอรี่
touch
การสร้างไฟล์
rm
การลบไฟล์
rmdir
การลบไดเร็คทอรี่
history
การแสดงคำสั่งที่เราได้ใช้ไปแล้ว
man
เป็นการขอตัวช่วยหรือเป็นการดูเอกสารของคำสั่งนั้นๆ
reboot
การ restart เครื่อง
init 0
การปิดเครื่อง
date
การแสดงวัน
cal
การแสดงปฏิทิน
finger
การแสดงรายชื่อ user ที่กำลังอยู่ในระบบขณะนี้
exit
การออกจาก shell ปัจจุบัน
fdisk
การจัดการเกี่ยวกับ partition
cat
เป็นการดูเนื้อหาของไฟล์ที่ต้องการเช่น cat /etc/passwd
find
เป็นการค้นหาไฟล์
grep
เป็นคำสั่งในการหาข้อความในบรรทัด
gzip
เป็นการลดขนาดไฟล์
gunzip
เป็นการยกเลิกการลดขนาดไฟล์
chmod
เป็นการกำหนดค่าที่เซตใน Owner-Group-Other
chown
เป็นการเปลี่ยนมือเจ้าของ
chgrp
เป็นการเปลี่ยนกลุ่ม
mount
เป็นคำสั่งที่เมาท์อุปกรณ์ หรือพาร์ติชั่น โดยมีรูปแบบดังนี้ mount options device directory
umount
เป็นการยกเลิกการเมาท์
fsck
เป็นการตรวจสอบไฟล์ หรือย่อจาก File System Checking
df
เป็นคำสั่งที่ดูเนื้อที่ว่างบนระบบไฟล์ที่เมาท์
du
เป็นการดูเนื้อที่ว่างบนไดเรคทรอรี่ที่ใช้อยู่
ps
แสดงงานที่เปิดอยู่ หรือกระบวนการที่ทำงาน
kill
เป็นคำสั่งที่ยกเลิกการทำงานของกระบวนการ
logout
เป็นคำสั่งที่ออกจากระบบ ใช้ได้ต่อเมื่ออยู่ใน Shell
free
เป็นการแสดงสถานะของเมมโมรี่ และเนื้อที่ว่างบนเมมโมรี่ ทั้งกายภาพ ที่ใช้ ใน swap, และบัฟเฟอร์
mke2fs
เป็นคำสั่งฟอร์แมตดิสก์พร้อมใส่ระบบไฟล์ไปด้วย
lpr
เป็นการส่งงานพิมพ์จากเครื่องลูกข่าย

หน้าตาโปรแกรม



Desktop
Desktop

Start Menu
Start Menu

Software Center
Software Center

โครงสร้างของระบบปฏิบัติการ linux




ลีนุกซ์ที่ ไลนัสและนักพัฒนาร่วมกันพัฒนาขึ้น เป็นเพียงส่วนที่เรียกกันว่า เคอร์เนล (Kernel)หรือแกนการทำงานหลักของระบบ แต่เคอร์เนลไม่สามารถทำงานตามลำพังได้ต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมและอุปกรณ์ อื่นๆ ดังรูป



โครงสร้างของลีนุกซ์
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
คือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนประกอบภายในและส่วนประกอบภายนอก อย่างเช่น แรม ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นส่วนที่เรามองเห็นและจับต้องได้
เคอร์เนล (Kernel)
เคอร์เนลเป็นส่วนประกอบที่สำคุญของระบบ เรียกว่าเป็นแกนหรือหัวใจของระบบก็ว่าได้ เคอร์เนลจะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ตั้งแต่การจัดสรรทรัพยากรของระบบบริการโพรเซสงาน (Process) การจัดการไฟล์และอุปกรณ์อินพุต เอาต์พุต บรหารหน่วยความจำ โดยเคอร์เนลจะควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครื่องทั้งหมด ดังนั้นเคอร์เนลจึงขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ ถ้าฮาร์ดแวร์เปลี่ยนรุ่นใหม่ เคอร์เนลก็จะต้องเปลี่ยนไปด้วย
ภายในเคอร์เนล จะประกอบไปด้วยโมดูล (Module) ต่างๆ และบางครั้งเราอาจจะเรียกโมดูลเหล่านี้ว่า ไดรเวอร์ (Driver) มีหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อกันระหว่างแอพพลิเคชันหรือ ระบบปฏิบัติการกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทั้งหมด ทั้งภายในและนอกเครื่องคอมพิวเตอร์
เชลล์ (Shell)
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้กับ Kernel โดยรับคำสั่งจากผู้ใช้ทางอุปกรณ์อินพุต อย่างเข่น คีย์บอร์ด ส่งให้ kernel ของระบบปฏิบัติการ เป็น command interpreter แล้วทำการแปลให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ นอกจากนี้เชลล์ยังทำหน้าที่ในการควบคุมและกำหนดทิศทางของอินพุตและเอาท์พุต ได้ด้วยว่าจะให้เข้าหรือออกมาทางใด เช่น อาจกำหนดให้เอาต์พุตออกมาทางหน้าจอ หรือเก็บลงในไฟล์ก็ได้




















โปรแกรมประยุกต์ (Application)
คือ โปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานต่างๆ บนลีนุกซ์ อย่างเช่น Star Office (โปรแกรมจัดการทั่วไปในสำนักงานคล้ายกับ Microsoft Office) , Gimp (โปรแกรมแต่งภาพบนลีนุกซ์คล้ายกับPhotoshop) โดยที่โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ 







การดาวน์โหลด Linux (Ubuntu)




1. เข้าเว็บไซต์ www.ubuntu.com จะปรากฏหน้าจอดังรูปด้านล่างครับ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม “Get Ubuntu”


2.เมื่อเข้าสู่หน้าจอ Download ให้คลิกที่ปุ่ม “Download and install”



3. เมื่อเข้าสู่หน้าจอดังรูปด้านล่าง ให้คลิกปุ่ม Start download ได้เลย




4. จะปรากฏหน้าจอให้เราบันทึกได้เลยครับ โดยกดปุ่ม OK




5. เมื่อเราดาวน์โหลด Ubuntu เสร็จเรียบร้อยแล้ว แล้วเราจะนำ Ubuntu ไปใช้งาอย่างไร
-วิธีการง่ายๆ ก็คือการไรท์ลงแผ่นซีดีครับ โดยผมใช้โปรแกรม Nero Express ครับ เปิดขึ้นมาแล้วเลือกที่เมนู Image, Project, Copy แล้วเลือก Disc Image or Saved Project
จากนั้นเราก็เลือกไฟล์ Ubuntu ที่ได้ดาวน์โหลดมาแล้วไรท์ได้เลย



ตอนนี้เราก็คงได้แผ่น Ubuntu เพื่อพร้อมที่จะติดตั้งเรียบร้อยแล้ว 

รุ่นของ Ubuntu



     ผู้พัฒนาเริ่มนำรูปแบบการเรียกรุ่นของ Ubuntu ด้วยปี ค.ศ. มาใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2004 เดือนตุลาคม (Ubuntu 4.10) มาดูกันดีว่าว่าตั้งแต่เวอร์ชั่นที่ใช้ตัวเลขและชื่อคู่กันนี้มีชื่ออะไรกันบ้างแล้ว

- 4.10 “Warty Warthog” (เริ่มนำระบบตัวเลขปีกับเดือนมาใช้)
- 5.04 “Hoary Hedgehog”
- 5.10 “Breezy Badger”
- 6.06 LTS “Dapper Drake” (รุ่นแรกของการนำเอา LTS มาใช้งาน)
- 6.10 “Edgy Eft”
- 7.04 “Feisty Fawn”
- 7.10 “Gutsy Gibbon”
- 8.04 LTS “Hardy Heron”
- 8.10 “Intrepid Ibex”
- 9.04 “Jaunty Jackalope”
- 9.10 “Karmic Koala”
- 10.04 “Lucid Lynx”
- 10.10 “Maverick Meerkat”
- 11.04 “Natty Narwhal”
11.10 “Oneiric Ocelot” (รุ่นปัจจุบันที่พึ่งออกให้ใช้)


11.10 “Oneiric Ocelot” (รุ่นปัจจุบันที่พึ่งออกให้ใช้) 

ข้อดีและข้อเสีย ของระบบปฎิบัติการ ubuntu





ข้อดีและข้อเสีย ของระบบปฎิบัติการ ubuntu
- คนใช้น่าจะมากกว่า OSX  นะในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็น Geek ผู้ใช้ระดับ User จริง ๆ อาจยังน้อยอยู่ แต่ชุมชนในไทย และทั่วโลกเข้มแข็งมากที่สุด
ใช้งานไม่ง่าย แต่ปรับแต่งได้เต็มที่ อาจต้องพึ่ง command อยู่บ้าง
ความสวยก็สวยนะ สามารถปรับแต่งได้อย่างอิสระมาก ๆ ที่สำคัญ Desktop Effect นี่กินขาดทุกOS เลย
โปรแกรมและไดร์เวอร์ มีให้ใช้ทั้ง ซื้อ ฟรี Open Source และเถื่อน ไม่เท่า windows ไม่เท่า mac os บางอย่างก็ต้องตัดใจอันนี้ผมว่าต้องอาศัยการวางแผนแล้วล่ะ ประมาณว่าจะซื้อ Hardware ก็ต้องดูก่อนว่า Support ใหม หรือเราใช้โปรแกรมนี้อยู่ไปใช้ Ubuntu จะใช้อะไร ตอบโจทย์เราได้ใหม
ติดตั้งโปรแกมค่อนข้างยากนะ อย่างที่ willwill บอกต้อง เมพ นิดนึง ที่สำคัญโปรแกรมหลายตัวมีปัญหากับ Hardware ด้วยเช่น Desktop Effect บางอย่างก็ compile ไม่ผ่าน
อันนี้อารมเดียวกับ leopard อ่ะ
การบริหารจัดการไฟล์ดีนะ mac มีข้อเสียเรื่องการใช้งานพื้นที่ค่อนข้างสิ้นเปลือง แต่  Ubuntu นี่ผมว่าอยู่กลาง ๆ

   ปลอดภัย windows < osx < ubuntu
   Fragment windows < ubuntu < osx
   Index windows < ubuntu < osx
   Volume osx < ubuntu < windows
   Recovery อันนี้แล้วแต่การปรับแต่งนิ แต่โดยพื้นฐานแล้ว osx ดีสุดนะมี Time Machine
ทำงานดีสุดบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องครับ ถ้าปรับแต่งได้ดีก็จะมีเสฐียรภาพมาก แต่ก็ต้องดู Hardware Support ด้วยนะครับสรุปคือต้องวางแผน
- OS นี่ก็บอกได้ว่าฟรี แบบไม่มีเงือนไข

ข้อแตกต่างระหว่าง Linux กับ Micosoft





 ข้อแตกต่างระหว่าง Linux กับ Micosoft


   แตกต่างอย่างแน่นอน เนื่องจาก Windows พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟ(Microsoft : MS)ซึ่งได้พัฒนามาตั้งแต่ Windows 3.1 จน มาถึงปัจจุบันคือ Windows 7 การทำงานในช่วงที่เป็นWindows XP ได้สร้างให้เกิดความนิยมใช้ Personal Computer (PC) เป็น จำนวนมาก แต่ด้วยความ ไมโครซอฟท์ ใช้การตลาดในการนำเสนอ ทำให้รีบส่งโปรแกรมออกสู่ตลาด ปัญหาจึงเกิดขึ้นมาไม่ว่าการใช้งานไม่ว่าระบบรักษาความปลอดภัย แต่หลังๆ ผู้ผลิตซอฟท์แวร์ก็ใช้แนวทางนี้เพื่อแย่งชิงตลาด
              ซอฟท์แวร์เช่นกัน จนมาถึง Vista ซึ่งพัฒนาความสวยงาม เพิ่ม Security แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับนัก เพราะมีปัญหาหลายประการไม่ว่าความช้า หรืออื่นจน MS กัดฟันรีบปรับปรุงพัฒนาเป็น Windows 7 ที่เพิ่งเปิดตัวไปไม่กี่เดือนนี้ออกมา ซึ่งได้รับ
             การตอบรับดีมากเพราะ Windows 7 คือWindows Vista ที่มาทำการรีดไขมันออกจนหมด จึงทั้งสวยทั้งดี แต่อีกประการต้องแลกมาด้วยการจ่ายค่า License ซึ่งมีราคาประมาณ6000-7000 บาท ยังไม่นับรวมซอฟท์แวร์ประกอบอื่น เฉพาะ OS เท่านั้น การใช้งานก็ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นจากการเปิดเครื่องที่ช้าจนมาถึง Windows 7 ก็ดีขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด
             Linux : ได้รับการพัฒนาโดยใช้หลักของ OpenSource ก็สังคมแห่งการแบ่งปัน ไม่ได้หวังผลกำไร แทบไม่น่าเชื่อ Linux พัฒนาจากยากมากๆ จนขณะนี้เทียบได้กับ Windows XPได้ แล้ว และจะพัฒนาต่อไป เพราะมีคนช่วยพัฒนาการใช้งานเร็ว ไม่มีปัญหาแฮงค์ ไม่มีปัญหาเพี้ยน ระบบรักษาความปลอดภัยดี ระบบไฟล์เยี่ยมเพราะมาจาก Unix สุดท้ายคือด้วยความที่เป็น OpenSource คือไม่หวังผลกำไรแต่ไม่ใช้ว่าไม่เสียเงิน หรือฟรี




วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ข้อดีและข้อเสียของระบบปฏิบัติาร Linux


Good
1. Free
ในความหมายนี้คือ
- ไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ (แปลว่าแม้จะฟรีก็ไม่ได้แปลว่าไม่มีลิขสิทธิ์นะ)
- สามารถแจกจ่ายได้อย่างเสรี ไม่ต้องขออนุญาติทาง Canonical ก่อนแต่อย่างใด และไม่ผิดกติกาใด ๆ ทั้งสิ้น
- สามารถแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพื่อใช้งานและแจกจ่ายได้อย่างอิสระเสรี (แต่อาจจะติดเงื่อนไขบางอย่าง ควรศึกษาเพิ่มนิดนึง)
- สามารถใช้งานได้ทุกรูปแบบ ไม่มีเงื่อนไข แต่ต้องไม่ผิดกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีใด ๆ ทั้งสิ้น
2. Security
ทั้งเรื่องของ Virus ทั้งประเภท Adware, Malware, Trojan ส่วนมากล้วนโจมตีแต่ระบบปฏิบัติการหลัก ๆ ที่ใช้กันทั่วไปในโลกนี้ นั่นก็คือ Windows อีกทั้งโดยปกติการรันโปรแกรมใน Linux และ Unix ทั้งหลายจะต้องใช้สิทธิ root หรือความเป็นเจ้าของเครื่องเท่านั้น ซึ่ง Ubuntu ได้ระงับระบบนี้ไว้ จะใช้สิทธิ root ได้ก็ต่อเมื่อใส่ Password ทุกครั้งเท่านั้น ดังนั้นหากโปรแกรมหรือระบบใด ๆ ที่ต้องการติดตั้งลงในเครื่องจะต้องผ่าน root ทุกครั้ง อีกนัยหนึ่งที่เดียวที่ไม่ผ่าน root ก็คือ /home ซึ่งถ้าอะไรที่ติดตั้งใน /home จะไม่ส่งผลกับระบบโดยรวม ดังนั้น มันปลอดภัยตั้งแต่อยู่ในมุ้งอยู่แล้ว ยิ่งถ้าใช้งานอย่างปลอดภัยเป็นนิจสินอยู่แล้วยิ่งไม่ต้องกังวลไปกันใหญ่
3. Software Repository
ในระบบปฏิบัติการลินุกซ์ทั้งหลายมักเตรียมโปรแกรมต่าง ๆ ไว้ในคลังซอฟท์แวร์ หรือที่เรียกกันว่า Repo ให้เรียบร้อย ทั้งนี้เพราะระบบการจัดการแพคเกจของแต่ละตัวก็ต่างกัน ที่หลัก ๆ ก็จะเป็น Debian ที่ใช้ไฟล์ .deb และ Red Hat ที่ใช้ไฟล์ .rpm ดังนั้นลินุกซ์ตัวอื่นที่สืบทอดมาจากต้นน้ำก็มักจะใช้ตาม ๆ กันมา การติดตั้งโปรแกรมในลินุกซ์ถ้าไม่ติดตั้งจาก Repo ก็มักจะต้องคอมไพล์จาก Source Code ของโปรแกรมเอง ซึ่งยากจะสำเร็จสำหรับผู้ใช้ที่ไม่เชี่ยวชาญจริง ๆ ดังนั้นโดยส่วนมากของโปรแกรมยอดนิยมและจำเป็นและควรจะใช้ทั้งหลายจึงถูกตระเตรียมไว้ใน Repo เป็นที่เรียบร้อย การติดตั้งจึงง่ายมาก ไม่ต้องเที่ยวเสาะแสวงหา และโปรแกรมที่อยู่ใน Repo โดยส่วนมากก็จะไว้ใจได้ว่าเหมาะกับการใช้งานในรุ่นนั้น ๆ (ถ้า Repo เป็นค่าปกติไม่ถูกเปลี่ยนแปลงจนมากเกินไป) ดังนั้น จึงง่าย สะดวก ไว้ใจได้ มากกว่า
4. Full Customization
นอกเหนือจากการปรับปรุง ถอดนั่น เพิ่มนี่ จนกลายเป็น OS ของตัวเองได้แล้ว ในเรื่องอื่น ๆ เช่นหน้าตา หรือสัมผัสที่ได้รับนั้นก็สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างหมดไส้หมดพุง ทั้งจะเปลี่ยนหน้าตา หรือการใช้งานใด ๆ ให้เป็นอย่างที่ต้องการก็ได้ (เกือบหมด) เช่น อยากจะเปลี่ยนหน้าตาให้เป็น Windows 7 หรือเป็น Mac หรือเปลี่ยนสี เปลี่ยนจากค่าปกติเป็น อย่างที่ต้องการ .. ต้องยกความดีความชอบให้กับ GNOME Desktop ที่ออกแบบมาให้ปรับเปลี่ยนได้อย่างพลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน และลูกเล่นอลังการของ Compiz-Fusion ยิ่งผสานกำลังกับ Emerald Theme ยิ่งสวยพิศดารแปลกตาแปลกใจกันไปใหญ่
5. Greatest Community
ไม่น่าเชื่อว่ากับ Ubuntu ลินุกซ์ที่เกิดใหม่เมื่อไม่กี่ปีมานี้จะสร้างฐานผู้ใช้งาน จนเกิด Knowledge Based มากมาย ทั้งใน Official Forum หรือตามฟอรั่มและ Blog อื่น ๆ อีกมากมายในหลาย ๆ ภาษา ที่สำคัญหากเทียบกันเฉพาะในไทย ถ้าไม่เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษควรจะใช้ Ubuntu มากที่สุด เพราะชุมชนเค้าเหนียวแน่นมากมาย หาความรู้ได้ไม่ยาก จากนั้นจึงค่อยขยายความรู้ไปภาษาอังกฤษได้ไม่ยาก การร่วมกันช่วยแก้ไขปัญหา ช่วยกันพัฒนา เป็นเอกลักษณ์อันดีที่ยากจะหาจาก OS อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ลินุกซ์
6. Thai Language Integrated Smoothly
ไม่ต้องอธิบายกันเยอะ ภาษาไทยใน Ubuntu ทั้งการใช้งานด้านอ่าน – เขียน หรือเมนูโปรแกรมภาษาไทยล้วนใช้งานได้ดี เหมาะสำหรับเอาไปให้เด็ก ๆ หรือผู้สูงอายุใช้งาน รวมถึงผู้ที่เริ่มใช้งานใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคยกับอินเตอร์เฟสของลินุกซ์ก็จะใช้งานได้ง่ายขึ้นมาก ๆ เลยทีเดียว
7. Required Minimal Hardware Resources
แม้ว่าทั้ง KDE และ GNOME จะอ้วนมาก ใช้ทรัพยากรมากขึ้นทุกวัน ๆ แต่เมื่อเทียบกับ OS ในยุคปัจจุบันเพื่อความเท่าเทียมก็จะพบว่ายังไงก็ใช้ทรัพยากรน้อยกว่า Desktop Environment (DE) แบบอื่น ๆ อยู่มากโข ทั้งนี้นอกจาก KDE และ GNOME แล้วยังมี DE อื่น ๆ ที่ใช้งานได้ดีและเบาเครื่องกว่าทั้งสองตัวนี้อีกมาก เช่น Enlightment, OpenBox หรือ XFCE ทั้งนี้ความต่างของ DE นั้นอาจทำให้การใช้งานบางอย่างสะดุดอยู่บ้าง แต่ถ้าพื้นฐานมันเป็นระบบเดียวกัน การจัดการระบบก็มักจะไม่ต่างกันเท่าไร ดังนั้นทางเลือกสำหรับเครื่องเก่า ๆ ก็หนีไม่พ้นลินุกซ์อยู่ดี แต่ทั้งนี้อาจจะต้องใช้ DE ประเภทอื่นที่ไม่ใช้ KDE และ GNOME หากเสปกเครื่องเก่ามากถึงมากที่สุด แต่อันที่จริงไม่จำเป็นต้องเครื่องเก่าหรอกครับ เครื่องใหม่ ๆ ดี ๆ แต่ถ้าอยากใช้งานแบบเหลือ ๆ เร็ว ๆ เบา ๆ ก็ลินุกซ์ก็ได้
8. Intelligence Hardware Detection
แม้ว่าปัญหานึงของ Mac และลินุกซ์ที่มีเหมือน ๆ กันคือเรื่อง Driver ของ Hardware ที่ผู้ผลิตมักไม่ค่อยเหลียวแล แต่ด้วยจำนวนผู้ใช้งานและยิ่งเป็นผู้ใช้งานที่มีความรู้ เป็น Programmer อยู่บ้างก็พยายามผ่าทางตันนี้โดยทำ Driver เลียนแบบมาให้ใช้กัน แน่นอนว่ามันอาจจะรีดประสิทธิภาพของ Hardware ออกมาได้ไม่หมด หรือไม่ดีเมื่อเทียบกับตัว Official จากผู้ผลิต แต่อย่างน้อยมันก็ใช้งานได้ และที่สำคัญ Driver ที่สำคัญ ๆ ทั้งหลายทั้งเก่าและใหม่ (ไม่ใหม่มาก) มักจะถูกรวมอยู่ในเคอร์เนลของลินุกซ์อยู่แล้ว ดังนั้นข้อดีเรื่อง Hardware ในลินุกซ์ก็คือ ในทางทฤษฎีแล้วถึงแม้จะเป็นลินุกซ์ต่างสายพันธุ์กัน แต่ถ้าใช้เคอร์เนลเดียวกันก็มักจะเจอ Hardware ได้เหมือน ๆ กัน ทั้งนี้ยาขมสำหรับลินุกซ์ก็อาจจะเป็น Wireless, Webcam หรือ Printer ซึ่งกับ Ubuntu ก็แก้ปัญหาพวกนี้ไปมากพอสมควรแล้ว (จนบางคนก็ค่อนขอดว่าไหนว่าใช้แต่ Free Software เพราะ Driver ของ Wireless บางตัวมันไม่ถือว่าฟรีนะ อะไรประมาณนั้น)
9. More Than I Can Say
อีกนับไม่ถ้วนที่เป็นข้อดีของ Ubuntu ทั้งเรื่องการใช้งานที่ง่ายกว่าลินุกซ์ตระกูลอื่น ๆ อย่างมีนัยยะสำคัญ ความเข้าใจใน End User มากกว่าที่ลินุกซ์ตระกูลอื่นมี มีการพัฒนาต่อยอดอีกมากมายซึ่งหมายความว่าผู้ใช้อย่างเรา ๆ สามารถเลือก OS ที่เหมาะสมกับการใช้งานของเราจริง ๆ โดยที่พื้นเพเดิมของมันก็คือ Ubuntu ที่เราคุ้นเคย เช่น อยากได้ Ubuntu พร้อมใช้แบบไทย ๆ ก็ไปหาในคลับ อยากได้พร้อมใช้แบบฝรั่ง ๆ ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองและโด่งดังไม่แพ้ตัวแม่ก็ Linux Mint อยากได้เบา ๆ เรียบ ๆ ก็ XFCE ใน Xubuntu อยากเบากว่า XFCE อีกก็ LXDE เลยเป็นไรกับ Lubuntu ชอบแบบคล้าย 7 และโปรแกรมดี ๆ เพียบพร้อมน่าใช้งานก็ KDE ใน Kubuntu หรืออยากเมพขิง ๆ เทพจริงอะไรจริง #! (Crunchbang) เลยเป็นไง รับรองถึงใจแน่นอน
Bad
1. Not Compatible with Windows
ด้วยความที่คนส่วนใหญ่ยังใช้ Windows ปัญหาของชาวลินุกซ์จึงยังมีอยู่ งานง่าย ๆ ที่ End User มักหงุดหงิด เช่น Chat ไม่เห็นกล้อง (ทั้ง Pidgin และ Empathy ยังไม่สามารถใช้งานกล้องเว็บแคมกับ Windows Live ได้ซักที) จะให้ไปใช้ aMSN ก็ได้แต่ถ้าถามจริง ๆ ความสามารถมันก็ยังตามไม่ทัน Windows Live Messenger อยู่ดี ทางเลือกของ Video Call หรือ Webcam ของลินุกซ์อาจจะต้องพึ่งพา Skype ซึ่งถึงแม้จะต้องติดตั้งเพิ่มเองแต่ก็ไม่ได้ยากเท่าไร (มันยากตรงที่จะชวนเพื่อนหรือคณะทำงานมาใช้ Skype นี่แหละ ก็ในเมื่อเค้าใช้ MSN กันได้ง่าย ๆ และติดต่อกับคนอื่น ๆ ได้มากกว่า ทำไมเค้าจะต้องเปลี่ยนมาใช้ Skype เพื่อเราคนเดียว)
หรืองานด้านเอกสารที่ทั่วไปโดยเฉพาะคนไทยมักจะใช้ Microsoft Office ซึ่งมีระบบฟอร์แมตเป็นของตัวเองและไม่เปิดเผยเสปก ดังนั้นการแลกเปลี่ยนเอกสารใช้งานซึ่งกันและกันอาจจะพบปัญหาความเข้ากันได้และความผิดเพี้ยนอยู่เสมอ อีกทั้งเรื่องฟ้อนต์อีกที่เป็นปัญหาใหญ่ การใช้ฟ้อนต์ทดแทนมันไม่สามารถแก้ได้ 100% และมันก็ไม่ใช่ค่าปกติที่ End User ควรจะทำกันเองอีกด้วย ดังนั้นอาจจะต้องปวดหัวกันหน่อย แต่ก็ไม่ได้ลำบากจนไม่น่าใช้แต่อย่างใด เพราะวิทยายุทธ์มันฝึกกันได้
2. Some Website Require Internet Explorer 6 Only
ไม่ต้องพูดกันเยอะ
3. Flash Player more Perfect in Windows Only
เว็บไซด์สมัยนี้มักยัดเยียด Flash มาทั้งใช้ตกแต่งหรือทำเป็นอินเตอร์เฟสกันเลยทีเดียว ปัญหาคือ Flash Player จาก Adobe มันมีประสิทธิภาพง่อยเปลี้ยเสียขามาก ๆ ในลินุกซ์และ Mac ดังนั้นการใช้งานบางเว็บอาจใช้งานไม่ได้ หรือใช้ได้แต่ไม่ดี อีกทั้งดีไม่ดีมันกิน CPU จนน็อกกันเลยทีเดียว
4. Efficacy of Multimedia Playing less than Windows
เรื่องนี้เจอมากับตัว คือเปิดไฟล์ Hi-Def ใน Windows โดย KMPlayer สามารถดูได้ไม่มีกระตุก ส่วนในลินุกซ์ทั้ง VLC, mPlayer, Totem ไม่ต้องพูดถึง คือมันก็ดูได้ล่ะครับแต่กระตุกบ้างอะไรบ้าง มันไม่ลื่นเหมือนโปรแกรมที่มีใน Windows ดังนั้นเรื่องนี้จะว่า Windows ดีกว่า หรือลินุกซ์ด้อยกว่าก็ไม่เชิง เพราะเหตุคือไม่มีโปรแกรมแบบนี้ในลินุกซ์ ไม่ใช่ว่าลินุกซ์ไม่ดีซะเมื่อไร จริงไหม
5. Shortly Support
การที่ Ubuntu ยึดหลักการออกเวอร์ชั่นใหม่ตามการรีรีสของ GNOME ทำให้ Ubuntu ต้องออกเวอร์ชั่นใหม่ทุก 6 เดือน และหลังจากออกเวอร์ชั่นใหม่แล้วก็จะซัพพอร์ตเวอร์ชั่นเดิมต่อไปอีก 18 เดือน เหมือนจะนานนะครับ แต่การซัพพอร์ตเวอร์ชั่นเดิมหลังจากออกเวอร์ชั่นใหม่หมายถึงการแก้ไขบั๊กที่เกิดขึ้นเท่านั้น จะไม่มีการอัพเกรดซอฟท์แวร์เวอร์ชั่นใหม่ให้แล้ว ดังนั้นจึงค่อนข้างล้าสมัยในการใช้เพื่อเป็นเดสก์ทอปหรือเครื่องส่วนตัว ส่วนถ้าเป็นเซิร์ฟเวอร์เล็ก ๆ หรือในสำนักงานที่ทำงานแบบว่าเอกสารบ้าง อะไรบ้าง คงไม่มีปัญหาเท่าไร และหลังจาก 18 เดือนแล้วก็จะถูกทอดทิ้งทันที ไม่มีการซัพพอร์ต แก้บั๊ก หรืออะไรอีกแล้ว
ด้วยข้อเสียเรื่องระยะเวลาในการซัพพอร์ต Ubuntu จึงแก้ปัญหาโดยทุก 3 รุ่นจะมีรุ่นที่ซัพพอร์ตนานขึ้น (Long Term Service – LTS) มาคั่น อย่างเช่น Lucid Lynx นี้ก็ถัดมาจาก Karmic ย้อนไป Jaunty และ Intrepid ก็จะเจอ Hardy ที่เป็น LTS เหมือนกัน ในรุ่นที่เป็น LTS นี้จะเลื่อนระยะเวลาการซัพพอร์ตนานขึ้น เวอร์ชั่น Desktop จาก 18 เดือนเป็น 36 เดือนหรือ 3 ปี ส่วน Server เอาไปเลย 5 ปี แค่นี้ก็เพียงพอที่จะทำให้องค์กรต่าง ๆ มั่นใจที่จะเปลี่ยนมาใช้ Ubuntu ได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการนำไปทำเซิร์ฟเวอร์ ที่ผู้ที่คุ้นเคยกับระบบของ Ubuntu อยู่แล้วจะได้ไม่ต้องไปเริ่มใหม่ที่ลินุกซ์ตัวอื่น
6. Problem with some software and gadget
นอกเหนือจากความฉลาดในการตรวจจับฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ที่มีมาในระดับเคอร์เนลแล้ว ก็ต้องเข้าใจว่าการเพิ่มการรู้จักฮาร์ดแวร์หรือ Gadget ที่เกิดใหม่ ๆ ทุกวันนั้นคงไม่ทันให้เราใช้แน่นอน เพราะกว่าแต่ละ Distro จะเอามาให้เราอัพเดทกันอีกล่ะ ซึ่งนอกจากเราจะไปคอมไพล์เคอร์เนลเอง ซึ่งไม่ได้ง่ายขนาดที่ทุกคนจะทำได้ ดังนั้น Gadget ที่เกิดใหม่ ๆ จึงเป็นปัญหาพอสมควร ยิ่งพวก Gadget ที่ต้องใช้คู่กับซอฟท์แวร์คู่ตัวอย่าง iPod vs iTunes นี่เรื่องใหญ่ ถึงแม้ว่าจะใช้โปรแกรมใน Ubuntu ในการ Sync ได้แต่เมื่อเอากลับไปเชื่อมต่อใน iTunes อีกทีนึงก็ไม่รับประกันว่า iTunes มันจะล้างข้อมูลเดิมออกเกลี้ยงเลยหรือไม่ (ซึ่งผมเคยมาแล้ว พังสนิทมมาแล้ว) ดังนั้นกับอุปกรณ์บางอย่างอาจใช้งานในลินุกซ์ได้ไม่เต็มรูปแบบ ก็เป็นภาระให้เราต้องจัดการผ่านการ Dual Boot หรือใช้ Virtual Machine อะไรก็ว่าไป