วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คำสั่งพื้นฐานสำหรับ Linux



คำสั่งพื้นฐานสำหรับ Linux


pwd
แสดงตำแหน่งปัจจุบัน
ls
แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเร็คทอรี่ ในรูปแบบต่างๆ
cd
คือการ access เข้าไปยังไดเร็คทอรี่
cd ..
การถอยออกจากไดเร็คทอรี่ที่อยู่ปัจจุบัน หนึ่งไดเร็คทอรี่
tty
การแสดงหน้าจอที่กำลังใช้งานอยู่
whoami
แสดงว่าตัวเองเป็น user อะไร
cp
การสำเนาไฟล์
mv
การย้ายไฟล์
mkdir
การสร้างไดเร็คทอรี่
touch
การสร้างไฟล์
rm
การลบไฟล์
rmdir
การลบไดเร็คทอรี่
history
การแสดงคำสั่งที่เราได้ใช้ไปแล้ว
man
เป็นการขอตัวช่วยหรือเป็นการดูเอกสารของคำสั่งนั้นๆ
reboot
การ restart เครื่อง
init 0
การปิดเครื่อง
date
การแสดงวัน
cal
การแสดงปฏิทิน
finger
การแสดงรายชื่อ user ที่กำลังอยู่ในระบบขณะนี้
exit
การออกจาก shell ปัจจุบัน
fdisk
การจัดการเกี่ยวกับ partition
cat
เป็นการดูเนื้อหาของไฟล์ที่ต้องการเช่น cat /etc/passwd
find
เป็นการค้นหาไฟล์
grep
เป็นคำสั่งในการหาข้อความในบรรทัด
gzip
เป็นการลดขนาดไฟล์
gunzip
เป็นการยกเลิกการลดขนาดไฟล์
chmod
เป็นการกำหนดค่าที่เซตใน Owner-Group-Other
chown
เป็นการเปลี่ยนมือเจ้าของ
chgrp
เป็นการเปลี่ยนกลุ่ม
mount
เป็นคำสั่งที่เมาท์อุปกรณ์ หรือพาร์ติชั่น โดยมีรูปแบบดังนี้ mount options device directory
umount
เป็นการยกเลิกการเมาท์
fsck
เป็นการตรวจสอบไฟล์ หรือย่อจาก File System Checking
df
เป็นคำสั่งที่ดูเนื้อที่ว่างบนระบบไฟล์ที่เมาท์
du
เป็นการดูเนื้อที่ว่างบนไดเรคทรอรี่ที่ใช้อยู่
ps
แสดงงานที่เปิดอยู่ หรือกระบวนการที่ทำงาน
kill
เป็นคำสั่งที่ยกเลิกการทำงานของกระบวนการ
logout
เป็นคำสั่งที่ออกจากระบบ ใช้ได้ต่อเมื่ออยู่ใน Shell
free
เป็นการแสดงสถานะของเมมโมรี่ และเนื้อที่ว่างบนเมมโมรี่ ทั้งกายภาพ ที่ใช้ ใน swap, และบัฟเฟอร์
mke2fs
เป็นคำสั่งฟอร์แมตดิสก์พร้อมใส่ระบบไฟล์ไปด้วย
lpr
เป็นการส่งงานพิมพ์จากเครื่องลูกข่าย

หน้าตาโปรแกรม



Desktop
Desktop

Start Menu
Start Menu

Software Center
Software Center

โครงสร้างของระบบปฏิบัติการ linux




ลีนุกซ์ที่ ไลนัสและนักพัฒนาร่วมกันพัฒนาขึ้น เป็นเพียงส่วนที่เรียกกันว่า เคอร์เนล (Kernel)หรือแกนการทำงานหลักของระบบ แต่เคอร์เนลไม่สามารถทำงานตามลำพังได้ต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมและอุปกรณ์ อื่นๆ ดังรูป



โครงสร้างของลีนุกซ์
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
คือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนประกอบภายในและส่วนประกอบภายนอก อย่างเช่น แรม ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นส่วนที่เรามองเห็นและจับต้องได้
เคอร์เนล (Kernel)
เคอร์เนลเป็นส่วนประกอบที่สำคุญของระบบ เรียกว่าเป็นแกนหรือหัวใจของระบบก็ว่าได้ เคอร์เนลจะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ตั้งแต่การจัดสรรทรัพยากรของระบบบริการโพรเซสงาน (Process) การจัดการไฟล์และอุปกรณ์อินพุต เอาต์พุต บรหารหน่วยความจำ โดยเคอร์เนลจะควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครื่องทั้งหมด ดังนั้นเคอร์เนลจึงขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ ถ้าฮาร์ดแวร์เปลี่ยนรุ่นใหม่ เคอร์เนลก็จะต้องเปลี่ยนไปด้วย
ภายในเคอร์เนล จะประกอบไปด้วยโมดูล (Module) ต่างๆ และบางครั้งเราอาจจะเรียกโมดูลเหล่านี้ว่า ไดรเวอร์ (Driver) มีหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อกันระหว่างแอพพลิเคชันหรือ ระบบปฏิบัติการกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทั้งหมด ทั้งภายในและนอกเครื่องคอมพิวเตอร์
เชลล์ (Shell)
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้กับ Kernel โดยรับคำสั่งจากผู้ใช้ทางอุปกรณ์อินพุต อย่างเข่น คีย์บอร์ด ส่งให้ kernel ของระบบปฏิบัติการ เป็น command interpreter แล้วทำการแปลให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ นอกจากนี้เชลล์ยังทำหน้าที่ในการควบคุมและกำหนดทิศทางของอินพุตและเอาท์พุต ได้ด้วยว่าจะให้เข้าหรือออกมาทางใด เช่น อาจกำหนดให้เอาต์พุตออกมาทางหน้าจอ หรือเก็บลงในไฟล์ก็ได้




















โปรแกรมประยุกต์ (Application)
คือ โปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานต่างๆ บนลีนุกซ์ อย่างเช่น Star Office (โปรแกรมจัดการทั่วไปในสำนักงานคล้ายกับ Microsoft Office) , Gimp (โปรแกรมแต่งภาพบนลีนุกซ์คล้ายกับPhotoshop) โดยที่โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ 







การดาวน์โหลด Linux (Ubuntu)




1. เข้าเว็บไซต์ www.ubuntu.com จะปรากฏหน้าจอดังรูปด้านล่างครับ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม “Get Ubuntu”


2.เมื่อเข้าสู่หน้าจอ Download ให้คลิกที่ปุ่ม “Download and install”



3. เมื่อเข้าสู่หน้าจอดังรูปด้านล่าง ให้คลิกปุ่ม Start download ได้เลย




4. จะปรากฏหน้าจอให้เราบันทึกได้เลยครับ โดยกดปุ่ม OK




5. เมื่อเราดาวน์โหลด Ubuntu เสร็จเรียบร้อยแล้ว แล้วเราจะนำ Ubuntu ไปใช้งาอย่างไร
-วิธีการง่ายๆ ก็คือการไรท์ลงแผ่นซีดีครับ โดยผมใช้โปรแกรม Nero Express ครับ เปิดขึ้นมาแล้วเลือกที่เมนู Image, Project, Copy แล้วเลือก Disc Image or Saved Project
จากนั้นเราก็เลือกไฟล์ Ubuntu ที่ได้ดาวน์โหลดมาแล้วไรท์ได้เลย



ตอนนี้เราก็คงได้แผ่น Ubuntu เพื่อพร้อมที่จะติดตั้งเรียบร้อยแล้ว 

รุ่นของ Ubuntu



     ผู้พัฒนาเริ่มนำรูปแบบการเรียกรุ่นของ Ubuntu ด้วยปี ค.ศ. มาใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2004 เดือนตุลาคม (Ubuntu 4.10) มาดูกันดีว่าว่าตั้งแต่เวอร์ชั่นที่ใช้ตัวเลขและชื่อคู่กันนี้มีชื่ออะไรกันบ้างแล้ว

- 4.10 “Warty Warthog” (เริ่มนำระบบตัวเลขปีกับเดือนมาใช้)
- 5.04 “Hoary Hedgehog”
- 5.10 “Breezy Badger”
- 6.06 LTS “Dapper Drake” (รุ่นแรกของการนำเอา LTS มาใช้งาน)
- 6.10 “Edgy Eft”
- 7.04 “Feisty Fawn”
- 7.10 “Gutsy Gibbon”
- 8.04 LTS “Hardy Heron”
- 8.10 “Intrepid Ibex”
- 9.04 “Jaunty Jackalope”
- 9.10 “Karmic Koala”
- 10.04 “Lucid Lynx”
- 10.10 “Maverick Meerkat”
- 11.04 “Natty Narwhal”
11.10 “Oneiric Ocelot” (รุ่นปัจจุบันที่พึ่งออกให้ใช้)


11.10 “Oneiric Ocelot” (รุ่นปัจจุบันที่พึ่งออกให้ใช้) 

ข้อดีและข้อเสีย ของระบบปฎิบัติการ ubuntu





ข้อดีและข้อเสีย ของระบบปฎิบัติการ ubuntu
- คนใช้น่าจะมากกว่า OSX  นะในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็น Geek ผู้ใช้ระดับ User จริง ๆ อาจยังน้อยอยู่ แต่ชุมชนในไทย และทั่วโลกเข้มแข็งมากที่สุด
ใช้งานไม่ง่าย แต่ปรับแต่งได้เต็มที่ อาจต้องพึ่ง command อยู่บ้าง
ความสวยก็สวยนะ สามารถปรับแต่งได้อย่างอิสระมาก ๆ ที่สำคัญ Desktop Effect นี่กินขาดทุกOS เลย
โปรแกรมและไดร์เวอร์ มีให้ใช้ทั้ง ซื้อ ฟรี Open Source และเถื่อน ไม่เท่า windows ไม่เท่า mac os บางอย่างก็ต้องตัดใจอันนี้ผมว่าต้องอาศัยการวางแผนแล้วล่ะ ประมาณว่าจะซื้อ Hardware ก็ต้องดูก่อนว่า Support ใหม หรือเราใช้โปรแกรมนี้อยู่ไปใช้ Ubuntu จะใช้อะไร ตอบโจทย์เราได้ใหม
ติดตั้งโปรแกมค่อนข้างยากนะ อย่างที่ willwill บอกต้อง เมพ นิดนึง ที่สำคัญโปรแกรมหลายตัวมีปัญหากับ Hardware ด้วยเช่น Desktop Effect บางอย่างก็ compile ไม่ผ่าน
อันนี้อารมเดียวกับ leopard อ่ะ
การบริหารจัดการไฟล์ดีนะ mac มีข้อเสียเรื่องการใช้งานพื้นที่ค่อนข้างสิ้นเปลือง แต่  Ubuntu นี่ผมว่าอยู่กลาง ๆ

   ปลอดภัย windows < osx < ubuntu
   Fragment windows < ubuntu < osx
   Index windows < ubuntu < osx
   Volume osx < ubuntu < windows
   Recovery อันนี้แล้วแต่การปรับแต่งนิ แต่โดยพื้นฐานแล้ว osx ดีสุดนะมี Time Machine
ทำงานดีสุดบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องครับ ถ้าปรับแต่งได้ดีก็จะมีเสฐียรภาพมาก แต่ก็ต้องดู Hardware Support ด้วยนะครับสรุปคือต้องวางแผน
- OS นี่ก็บอกได้ว่าฟรี แบบไม่มีเงือนไข

ข้อแตกต่างระหว่าง Linux กับ Micosoft





 ข้อแตกต่างระหว่าง Linux กับ Micosoft


   แตกต่างอย่างแน่นอน เนื่องจาก Windows พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟ(Microsoft : MS)ซึ่งได้พัฒนามาตั้งแต่ Windows 3.1 จน มาถึงปัจจุบันคือ Windows 7 การทำงานในช่วงที่เป็นWindows XP ได้สร้างให้เกิดความนิยมใช้ Personal Computer (PC) เป็น จำนวนมาก แต่ด้วยความ ไมโครซอฟท์ ใช้การตลาดในการนำเสนอ ทำให้รีบส่งโปรแกรมออกสู่ตลาด ปัญหาจึงเกิดขึ้นมาไม่ว่าการใช้งานไม่ว่าระบบรักษาความปลอดภัย แต่หลังๆ ผู้ผลิตซอฟท์แวร์ก็ใช้แนวทางนี้เพื่อแย่งชิงตลาด
              ซอฟท์แวร์เช่นกัน จนมาถึง Vista ซึ่งพัฒนาความสวยงาม เพิ่ม Security แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับนัก เพราะมีปัญหาหลายประการไม่ว่าความช้า หรืออื่นจน MS กัดฟันรีบปรับปรุงพัฒนาเป็น Windows 7 ที่เพิ่งเปิดตัวไปไม่กี่เดือนนี้ออกมา ซึ่งได้รับ
             การตอบรับดีมากเพราะ Windows 7 คือWindows Vista ที่มาทำการรีดไขมันออกจนหมด จึงทั้งสวยทั้งดี แต่อีกประการต้องแลกมาด้วยการจ่ายค่า License ซึ่งมีราคาประมาณ6000-7000 บาท ยังไม่นับรวมซอฟท์แวร์ประกอบอื่น เฉพาะ OS เท่านั้น การใช้งานก็ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นจากการเปิดเครื่องที่ช้าจนมาถึง Windows 7 ก็ดีขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด
             Linux : ได้รับการพัฒนาโดยใช้หลักของ OpenSource ก็สังคมแห่งการแบ่งปัน ไม่ได้หวังผลกำไร แทบไม่น่าเชื่อ Linux พัฒนาจากยากมากๆ จนขณะนี้เทียบได้กับ Windows XPได้ แล้ว และจะพัฒนาต่อไป เพราะมีคนช่วยพัฒนาการใช้งานเร็ว ไม่มีปัญหาแฮงค์ ไม่มีปัญหาเพี้ยน ระบบรักษาความปลอดภัยดี ระบบไฟล์เยี่ยมเพราะมาจาก Unix สุดท้ายคือด้วยความที่เป็น OpenSource คือไม่หวังผลกำไรแต่ไม่ใช้ว่าไม่เสียเงิน หรือฟรี